วันพฤหัสบดีที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2555

การปฏิบัติงานจิตอาสาที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม
1.นางสาวธนาภรณ์ โชติภัทรสุมล รหัสนักศึกษา 5304100053
2.นางสาวชนัดดา นิลสาลิกา รหัสนักศึกษา 5304100070
3.นางสาวนุชาดา คชสีห์ รหัสนักศึกษา 5404100112
4.นางสาววรินทร วรรณส รหัสนักศึกษา 5404100118
5.นางสาวสุพัตรา เจตนา รหัสนักศึกษา 5304100024
6.นางสาววรินญา จินดาอินทร์ รหัสนักศึกษา 5304100090
7.นางสาวหนึ่งหทัย วัชรวงศ์ รหัสนักศึกษา 5304100091
8.นางสาวโสภิตา ประทุม รหัสนักศึกษา 5304100108
9.นายเอ ยมรัตน์ รหัสนักศึกษา 5304100123

ลักษณะงานจิตอาสาที่ทำ
เป็นงานจิตอาสาเกี่ยวกับการไปสอนหนังสือที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี รายวิชาที่ไปสอนคือวิชาภาษาอังกฤษที่สอนวิชานี้เพราะตรงกับสาขาวิชาที่กลุ่มของดิฉันศึกษาอยู่ การสอนก็จะมีความยากง่ายต่างกันไปแล้วแต่ระดับชั้น ระดับชั้นที่กลุ่มของดิฉันไปสอนคือชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เนื้อหาที่จะไปสอนก็อยากจะเป็นพวกคำศัพท์ภาษาอังกฤษในหมวดต่างๆ และอาจจะเป็นพวกประโยคต่างๆที่ใช้ในชีวิตประจำวัน

ผลการปฏิบัติงาน
การปฏิบัติงานเป็นไปด้วยดีน้องๆก็น่ารักเชื่อฟังพี่ๆทุกคนแต่อาจมีบางคนที่ดื้อแต่พวกพี่ๆก็รับมือได้การปฏิบัติงานครั้งนี้ทำให้กลุ่มของดิฉันได้ข้อคิดและประโยชน์มากมายและได้นำข้อคิดและประโยชน์ที่ได้มาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อเครื่องเขียนแต่ก่อนกลุ่มของดิฉันใช้เครื่องเขียนกันฟุ่มเฟือยมากเห็นอันไหนที่ออกมาใหม่ที่ฮิตกันกลุ่มดิฉันก็จะซื้อตามถึงแม้ว่าอันเก่านั้นยังไม่หมดก็ตาม ตั้งแต่ที่กลุ่มของดิฉันได้ไปสอนหนังสือที่สถานสงเคราะห์เห็นน้องๆใช้เครื่องเขียนกันแบบประหยัดมากอันเก่าไม่หมดก็ยังไม่ใช้อันใหม่ต้องรอให้ของเก่าหมดก่อนถึงจะใช้ของใหม่ได้ นั้นก็ทำให้กลุ่มของดิฉันคิดได้ว่าขนาดน้องตัวเล็กๆยังรู้จักประหยัดเลยแล้วเราโตขนาดไหนแล้วความคิดก็มีมากกว่าน้องยังจะทำตัวอย่างนี้อีกหรือ

ปัญหาที่เกิดขึ้นและการแก้ไข
ปัญญาที่เกิดขึ้นวันแรกที่กลุ่มดิฉันได้ไปสอนกลุ่มของดิฉันได้สอนน้องชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 แต่วันนั้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีอาจารย์พิเศษมาสอนทำให้กลุ่มของดิฉันต้องไปสอนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 เนื้อหาที่ดิฉันเตรียมมาก็เป็นของชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ซึ่งยากเกินสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มของดิฉันจึงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าคือได้สอนเกี่ยวกับพยัญชนะภาษาอังกฤษคือ A-Z แต่กลุ่มของดิฉันให้ท่อง A-Z เป็นเพลงและก็เต้นตามไปด้วยเพื่อให้น้องๆสนุกและไม่เบื่อ พอน้องๆเริ่มเบื่อดิฉันของบอกน้องว่าถ้าทุกคนท่องพยัญชนะภาษาอังกฤษได้ทุกคนพวกพี่จะพาเล่นเกม และก็ได้ผลน้องๆตั้งใจและท่องกันได้ทุกคนเพื่ออยากเล่นเกม พี่ฉันก็ทำถามที่สัญญาและได้เล่นเกมกับน้องๆอย่างสนุกสนานเกมที่น้องกันดิฉันเล่นคือเกมบิงโก

ข้อเสนอแนะ
อยากให้อาจารย์จัดเรื่องชั้นที่จะให้นักศึกษาไปสอนให้แน่นอนกว่านี้การสอนจะได้มีประสิทธิภาพเพราะเนื้อหาที่เตรียมไปจะได้ตรงกับชั้นที่จะไปสอน อยากให้มีระยะเวลาในการสอนมากกว่านี้เพราะเป็นการฝึกประสบการณ์ของนักศึกษาไปในตัว

วันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

โครงการ SSR ปฐมนิเทศที่บ้านราชวิถี ปีการศึกษา 2553





โครงการ SSR ปฐมนิเทศปีการศึกษา 2554




โครงการ SSRสาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจ จัดปฐมนิเทศ นักศึกษารุ่นที่ 3 ปีการศึกษา 2554 เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2555

วันพุธที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2554

นพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ สัญลักษณ์แห่งความดี


พรประไพ เสือเขียว วันพุธ ที่ 23 มีนาคม 2554

“เมื่อรถแล่นไปถึงโรงพยาบาลผมก็พบกับสิ่งที่คาดไม่ถึง คือแทนที่จะได้เห็นเธออุ้มลูกมาให้หมอตรวจ เธอกลับอุ้มลูกเดินออกจากโรงพยาบาลโดยไม่ยอมเข้ามาบริการ ผมจึงเดินไปตามว่ามาถึงโรงพยาบาลแล้วทำไมไม่พาลูกไปให้หมอตรวจ เธออ้ำอึ้งไม่ตอบอยู่พักใหญ่ สุดท้ายคนขับรถของผมซึ่งเป็นคนท้องถิ่นได้สอบถามแทน จึงได้ความว่าเธอมีเงินพกติดตัวมาเพียง ๓๐ บาท ตั้งใจจะนำเด็กไปฉีดยากับหมอเสนารักษ์ที่อยู่ไม่ไกลจากโรงพยาบาลเท่าใดนัก ซึ่งโดยปกติเขาจะคิดค่ารักษาเพียง ๒๐ บาท อีก ๑๐ บาทที่เหลือจะเก็บไว้เป็นค่าโดยสารกลับบ้าน” เนื้อหาส่วนหนึ่งของหนังสือ “บนเส้นทางสู่หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า” ของสำนักพิมพ์มติชน ซึ่งนพ.สงวน นิตยารัมภ์พงศ์ อดีตเลขาธิการ สปสช. เขียนไว้ในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่

ย้อนไปก่อนที่รัฐบาลจะมีนโยบายประกันระบบสุขภาพถ้วนหน้า คนจนจำนวนหนึ่งไม่กล้าไปโรงพยาบาลเพราะกลัวเงินค่ารักษาไม่พอ ขณะที่คนรวยที่ป่วยด้วยโรคมะเร็งหรือโรคร้ายแรงอื่นต้องสิ้นเนื้อประดาตัว กับค่ารักษาพยาบาล ทั้งที่ตามสิทธิมนุษยชนแล้วผู้ป่วยต้องได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเท่าเทียม กัน ไม่สมควรถูกทิ้งขว้างเพราะไม่มีเงิน

นพ.สงวน คือบุคลากรที่มีคุโณปการอเนกอนันต์ต่อวงการสาธารณสุขไทย ในการวางรากฐานระบบบริการทางการแพทย์ของระบบประกันสังคม บุกเบิกระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าหรือเมื่ออดีตคือโครงการ ๓๐ บาทรักษาทุกโรค ก่อนจะมาเป็นระบบบัตรทองในวันนี้ โดยถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ หลังจากคุณหมอสงวนและทีมงานได้ทำวิจัยและทดลอง และเดินทางไปศึกษาดูงานในต่างประเทศใช้เวลาร่วม ๑๐ ปีนับตั้งแต่ก่อนเริ่มบริการทางแพทย์ของประกันสังคมเรื่อยมา จนเมื่อนำเสนอสู่พรรคการเมืองในสมัยปี ๒๕๔๔ (พรรคไทยรักไทย) โดยใช้เวลาเพียง ๔๕ นาทีในการนำเสนอ จนท้ายที่สุดได้รับมีการออกกฎหมายรองรับ คือพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๕ ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้คนไทย ๔๘ ล้านคน เริ่มเข้าถึงระบบการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพ

แรกเริ่มของประกันสุขภาพ รัฐบาลจัดสรรงบประมาณอย่างจำกัด เพียงแค่ ๑,๒๐๒.๔๐ ต่อหัวต่อปี ยังไม่ได้หมายความว่า 30 บาทจะรักษาได้ทุกโรค แต่ตลอดระยะเวลาที่นพ.สงวนดำรงตำแหน่งเลขาธิการสปสช.ได้ผลักดันให้ระบบ ประกันสุขภาพมีการรักษาโรคที่ครอบคลุม ทั้งโรคมะเร็ง โรคไตวายเรื้อรัง และการเข้าถึงยาต้านไวรัสของผู้ป่วยโรคเอดส์ และริเริ่มโครงการเพื่อนช่วยเพื่อน หรือ จิตอาสา ให้คนไข้ที่หายป่วยแล้วให้กำลังใจเพื่อนมนุษย์ด้วย เช่นเครือข่ายโรคมะเร็ง เครือข่ายโรคหัวใจ เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี เป็นต้น โครงการลดความแออัดในโรงพยาบาล โดยให้ประชาชนไปใช้หน่วยบริการใกล้บ้านใกล้ใจ หรือปฐมภูมิ

หลักการทำงานของหมอสงวน ยึดหลักส่วนรวมเป็นหลัก ซึ่งมักจะพูดเสมอว่าการทำงานยาก ๆ ให้สำเร็จนั้น ต้อง “กัดไม่ปล่อยอย่างอุเบกขา” จากประสบการณ์การทำงานแพทย์ชนบทใน อ.ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ และเป็นบุคคลในเดือนตุลาคม ๒๕๑๙ สมัยเป็นนักศึกษาแพทย์ ช่วยหล่อหลอมให้คุณหมอเดินอยู่บนหลักความถูกต้องและความดีตลอดมา

สมัยที่เกิดโครงการระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าในช่วงแรกมีแรงเสียดทานจากวงการ สาธารณสุขจำนวนมาก เพราะโครงการบัตรประกันสุขภาพ มีงบประมาณก้อนโต กลายเป็นสายล่อฟ้าให้นักการเมืองและผู้บริหารฉ้อฉลกับเงินก้อนนี้ได้ คุณหมอรู้ถึงจุดนี้จึงผลักดันให้กระทรวงการคลังออกกฎระเบียบควบคุมการจ่าย เงินก้อนโต โดยกำหนดให้มีคณะกรรมการจากบุคคลภายนอกเข้ามาดูแล ไม่ปล่อยให้เป็นสิทธิขาดของผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขเท่านั้น ทำให้ทุกวันนี้ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้านำหน้าด้านการบริหารจัดการทางการ แพทย์ จนส่งแรงกระเพื่อมไปถึงระบบประกันสังคมอยู่ในขณะนี้

คุณหมอสงวนเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งในวันที่ ๑๘ ม.ค. ๒๕๕๑ นั่นแสดงว่าระหว่างการทำงานเพื่อสร้างความเป็นธรรมทางการรักษาทางแพทย์กับ ร่างกายที่ป่วยเป็นมะเร็ง แต่คุณหมอกลับไม่ครั่นคร้ามและบอกว่า “มะเร็งคือพลังอีกรูปแบบหนึ่งที่ทำให้ผมเลือกทำสิ่งดี ๆ ให้เร็วขึ้นและมากขึ้น ผมอยากให้คุณมองมะเร็งว่าเป็นเงื่อนไขที่มีพลัง” ก่อนสิ้นลม คุณหมอสงวนได้เขียนด้วยลายมือตัวเองในขณะที่มีสติสัมปชัญญะก่อนเสียชีวิตว่า “ขออุทิศร่างกายของตนให้คณะแพทยศาสตร์รามาธิบดีเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาของ นักศึกษาแพทย์”

ในวันที่ ๑ เม.ย. ๒๕๕๔ ภารกิจร่างกายของนพ.สงวนในหน้าที่อาจารย์ใหญ่จะหมดลงตามระยะเวลา ซึ่งจะมีพิธีพระราชทานเพลิงศพในวันที่ ๒ เม.ย. ณ วัดชลประทานรังสฤษฏ์ จ.นนทบุรี ...

ตลอดระยะเวลาของการมีชีวิตอยู่นพ.สงวนประกอบคุณงามความดีตลอดมาที่มนุษย์พึง กระทำได้ตามศักยภาพ และหน้าที่ของตน ผศ.ดร.พระมหาทวี มหาปญโญ (ละลง) ผู้อำนวยการโครงการหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย กล่าวว่า มนุษย์เกิดมามี ๒ อย่างคือ ดีกับชั่ว แต่คุณค่าของมนุษย์คือความดี การทำความดีหมายถึงการกระทำที่เป็นประโยชน์กับตนเองและกับสังคมถือเป็น หน้าที่ของมนุษย์ ตามหลักพุทธศาสนาการได้เกิดเป็นมนุษย์ถือว่าเป็น “มนุษย์สมบัติ”และยิ่งมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์ มีจิตใจที่ดี ถือว่าเป็นเสถียรภาพที่สำคัญ

ซึ่งการทำความดีแบ่งออกเป็น ๓ ระดับได้แก่ ระดับต้น ระดับกลาง ระดับสูงสุด ดังนั้นการให้คุณค่ากับการเป็นมนุษย์กับตัวเองคือ การรักษาศีล ๕ เหล่านี้คือความดีระดับต้น ส่วนระดับกลางคือการไม่ประพฤติผิดด้วยกาย วาจา ใจ คือกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม ระดับสูงสุดคือ การดำเนินตามมรรค ๘ อาทิ สัมมาทิฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึงเห็นถูกตามความเป็นจริงด้วยปัญญา สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบ หมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม

สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ มรรค ๘ คือ ความดีอย่างยิ่งยวด ศาสนาพุทธต่างจากศาสนาอื่นตรงเรื่องความดีระดับสูงคือมรรค ๘ นั่นเอง

“มนุษย์ต่างจากสัตว์ที่ไม่สามารถบำเพ็ญความดีได้อยู่ด้วยสัญชาตญาณ มนุษย์เกิดมามีความดีกับความชั่วติดตามมาและมีศักยภาพในการพัฒนาตัวเองดู ตัวอย่างของพระพุทธเจ้าเป็นมนุษย์ธรรมดาที่จะฝึกตัวเองให้มีปัญญารู้เท่าทัน ทุกสิ่ง คนเราทุกคนในสังคมทุกวันนี้ขอแค่มีความดีระดับต้นก็พอแล้ว มนุษย์จะประเสริฐกว่าถ้าสร้างคุณงามความดีเพียงวันเดียว ดีกว่าอายุยืน ๑๐๐ ปีแต่ไม่สร้างความดีไว้เลย” พระอาจารย์มหาทวีกล่าว พร้อมกับบอกว่า การทำดีของนพ.สงวนตั้งอยู่ในเจตนาดีตลอดมา แม้ก่อนตายยังได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่ออุทิศร่าง ทางพุทธศาสนาถือว่ามีเจตนาดีทั้งก่อนและหลังทำ บุญกุศลนี้จะส่งให้คุณหมอสู่สถานที่ดีในปรโลก.

Source: http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&categoryID=671&contentID=128302

วันพฤหัสบดีที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การปฏิบัติงานโครงการจิตอาสา ณ สถานสงเคราะห์บ้านราชวิถี 9-2553

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม
1.นางสาวขวัญชนก ชูช่วย 5204100160
2.นางสาววราภรณ์ อินทประเทศ 5204100177
3.นางสาวรัชดากร เรืองอัมพร 5204100139
4.นายอชิรวิชญ์ สีหมื่น 5204100173

ลักษณะงานจิตอาสาที่ทำ
สอนหนังสือเด็กชั้น ป.4 สัปดาห์ละ 1ครั้ง ครั้งละ 2 ชม. คือ 9.00-11.00 น.

ผลการปฏิบัติงาน
น้องๆได้รับความรู้เรื่องภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นคำศัพท์และเพลงภาษาอังกฤษต่างๆ

ปัญหาที่เกิดขึ้นและการแก้ไข
น้องๆบางคนไม่สนใจในการเรียนที่เราได้สอน จึงแก้ไขโดยการชวนคุยเพื่อทำให้เกิดความสนิทสนม เพื่อลดความเขินอายของน้องๆและเบี่ยงเบนความสนใจโดยการเชิญชวนน้องๆทำกิจกรรมนันทนาการแล้วจึงเข้าสู่การเรียนการสอน

ข้อเสนอแนะ
-

วันจันทร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การปฏิบัติงานโครงการจิตอาสา ณ สถานสงเคราะห์บ้านราชวิถี 8-2553

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม
5204100169 นายชัยสิทธิ์ บุนนาค หัวหน้ากลุ่ม
5204100172 นายวศิน ศิริโท
5304100238 นส.สุรีวรรณ ทรัพย์เที่ยง
5304100245 นส.พัชรภรณ์ นิคมชัยประเสริฐ

ลักษณะงานจิตอาสาที่ทำ
สอนภาษาอังกฤษให้กับน้องชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยสอนการเขียนและอ่านพยัญชนะภาษาอังกฤษ สอนคำศัพท์จากรูปภาพ การนับจำนวนตัวเลข และสอนเสริมคำศัพท์เกี่ยวกับสัตว์ที่ง่ายๆ อีกทั้งยังมีการเล่านิทาน และร่วมร้องเพลงภาษาอังกฤษกับน้องๆ พร้อมสอนคำศัพท์จากเพลงควบคู่กันไป เพื่อให้น้องๆ ได้รับความรู้พร้อมความบันเทิง เพื่อเสริมสร้างให้น้องๆ มีใจรักในด้านภาษาอังกฤษ

ผลการปฏิบัติงาน
จากการปฏิบัติงานสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ถึงแม้ว่าจะมีอุปสรรคเกิดขึ้นบ้าง แต่ก็สามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ น้องๆมีพัฒนาการทางด้านภาษาอังกฤษดีขึ้นเรื่อยๆ นับจากวันแรกที่เข้าไปสอน น้องๆมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนเป็นอย่างดี

ปัญหาที่เกิดขึ้นและการแก้ไข
1. น้องๆ แต่ละคนมีความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษแตกต่างกันอย่างชัดเจน
วิธีการแก้ไข เข้าไปสอนเป็นรายบุคคล เพื่อให้ทันเพื่อน
2. น้องๆ บางคนหยิบหนังสือวิชาอื่นขึ้นมาอ่านในขณะที่กำลังสอนภาษาอังกฤษ หรือนำสีขึ้นมาระบายเล่น
วิธีการแก้ไข พยายามดึงความสนใจน้องให้มาอยู่ที่เราโดยการเล่นตลกให้น้องดู
3. เกิดการทะเลาะ แย่งสิ่งของกัน เนื่องจากต่างคนต่างคิดว่าสิ่งนี้เป็นของตน
วิธีการแก้ไข พยายามเกลี้ยกล่อมจนกว่าน้องจะสงบสติอารมณ์ได้
4. น้องชอบเดินออกนอกห้องในขณะที่กำลังสอน
วิธีแก้ไข บอกน้องว่าถ้าลงไปในขณะสอนถ้าขึ้นมาแล้วจะไม่ให้เข้าห้องอีก

ข้อเสนอแนะ
1.อยากให้ทางโรงเรียนดูแลเรื่องอุปกรณ์และสื่อการสอนเนื่องจากมีบางชิ้นชำรุดเสียหายอย่างมาก
2.อยากให้เพิ่มในเรื่องของระเบียบวินัยมากขึ้นเนื่องจากน้องบางคนมีนิสัยก้าวร้าวจนเกินไปอาจส่งผลไปถึงอนาคตของตัวน้องเองได้

การปฏิบัติงานโครงการจิตอาสา ณ สถานสงเคราะห์บ้านราชวิถี 7-2553

รายชื่อสมาชิกกลุ่ม
1.นางสาวเบญจรงค์ ธัญญเจริญ 5204100055
2.นางสาวจันทร์เพ็ญ นพเก้า 5204100086
3.นางสาวปาริฉัตร สุมทอง 5204100007

ลักษณะงานจิตอาสาที่ทำ
ได้สอนภาษาอังกฤษให้กับน้องๆ ป.6 ที่บ้านราชวิถี

ผลการปฎิบัติงาน
เริ่มจากวันแรกๆอาจจะยังไม่คุ้ยเคยกันและเด็กๆที่นั่นยังไม่ค่อยพอใจในการมาสอนครั้งนี้ แต่พอจบครั้งแรกไปทุกๆอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี น้องๆที่นั่น น่ารักเป็นกันเอง มีน้ำใจ และสนุกสนานมาก การที่ได้ไปสอนน้องๆในครั้งนี้เป็นความทรงจำที่ดีมากๆค่ะ

ปัญหาที่เกิดขึ้นและการแก้ไข
น้องๆยังไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองๆด้ปกติดีในบางครั้งและ น้องๆยังไม่สามารถที่จะได้รับการเรียนรู้แบบนักเรียนทั่วไปได้เพราะจะสมาธิสั้น น้องๆชอบเล่นกิจกรรมมากกว่า น้องๆมีเรื่องราวประสบการณ์หลายๆอย่างที่ได้นำมาเล่าให้ฟัง และเด็กที่นั่นชอบวาดรปให้ดูและน้องๆมีพรสวรรค์ในการวาดรูปเป็นอย่างมากค่ะ ควรจะมีกิจกรรมให้กับน้องๆทุกครั้งที่เจอกัน และอย่าปักหลักว่าเราจะต้องสอนน้องให้ครบแต่เราควรค่อยๆให้น้องๆได้เรียนรู้และทุกอย่างจะผ่านไปได้ด้วยดีค่ะ

ข้อเสนอแนะ
อยากให้ติดต่อประสานงานกับทางบ้านราชวิถีว่าพวกเราไปสอนน้องในวันและเวลาใดบ้าง เพราะว่าบางครั้งที่ไปที่นั่นทางบ้านราชวิถีอาจมีกิจกรรมมาชนกันการสอนของพวกเราค่ะ