วันอาทิตย์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2553

รอยยิ้มในธุรกิจแตงโม ... ธุรกิจหัวใจสังคม


โดย : Give2all เมื่อ : 1/02/2007 05:19 PM

บรรยากาศสบายๆ ริมแม่น้ำนครชัยศรี จ.นครปฐม เป็นที่ตั้งของโรงงานผลิตเสื้อยืดสำเร็จรูปภายใต้แบรนด์เนมที่คนไทยคุ้นเคยมานาน "แตงโม" ของบริษัท "สยามแฮนด์ส จำกัด" ไม่เฉพาะรอบนอกที่สดชื่นด้วยไอน้ำ ในตัวโรงงานยังเย็นสบายโดยไม่ต้องใช้แอร์คอนดิชั่น แต่ติดตั้งเพียงพัดลมระบายอากาศ และล้อมรอบด้วยกระจกใสโปร่งตา พนักงานหันหน้าเข้าหากันทำงานด้วยสีหน้าที่ไม่เคร่งเครียด แต่มีประสิทธิภาพ

"...ผมวางธุรกิจที่ทำเป็นกองทัพป้องกันประเทศในสงครามเสื้อผ้า ต่อสู้กับสินค้าราคาถูกจากจีน และสินค้าราคาแพงจากตะวันตก เป็นสินค้าไทยราคาไม่แพงแต่คุณภาพดี ไม่ทำให้เงินไหลออกนอกประเทศ... ...เรามีหอพักบริการคนงานเดือนละ 900 บาท เป็นค่าหอ 200 บาท ค่าอาหาร 700 บาท คือเขากินอิ่ม 3 มื้อ เงินเดือนที่เหลือสามารถส่งกลับบ้านได้หมด

โครงการแตงโมสมานฉันท์ รับเอาผู้หญิงบ้านบอเกาะที่นราธิวาสมาอบรมเย็บเสื้อผ้าในโรงงาน เดือนเดียวที่คนเหล่านี้กลับไปพวกเขาก็ตั้งโรงงานเย็บผ้าเล็กๆ ในหมู่บ้าน..."

นี่เป็นส่วนหนึ่งของหลักการและกิจกรรมเพื่อสังคมของผู้บริหารบริษัทสยามแฮนด์ส คุณอดิศร และ คุณอมรา พวงชมภู กับการทำธุรกิจบนความรับผิดชอบต่อสังคม

จากใจที่งดงาม ผ่านมือที่ประณีต สู่สินค้าคุณภาพ เพื่อผู้ใช้ทั่วโลก

สโลแกนผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าแตงโม กลั่นกรองมาจากแนวคิดและประสบการณ์การทำงานของผู้บริหาร คุณอดิศร - คุณอมรา พวงชมภู มาสู่วิถีทางธุรกิจที่เอาใจใส่พนักงาน ใส่ใจผู้บริโภค ดูแลสิ่งแวดล้อม และรับผิดชอบต่อสังคม

ไม่เพียงโรงเย็บผ้าริมแม่น้ำที่ไม่ต้องอาศัยแอร์คอนดิชันให้สิ้นเปลือง พลังงาน สิ่งแวดล้อมโดยรอบยังสะอาดเป็นระเบียบต่างจากโรงงานหลายแห่ง ทั้งยังมีกฏเหล็กเพื่อสุขภาพในอาณาจักรแห่งนี้ คือ ห้ามพนักงานกินเหล้า สูบบุหรี่

"ผมเคยไล่ออกทีเดียว 60 คนเพียงรู้ว่าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด ที่นี่เราไม่อนุญาตทั้งเหล้า บุหรี่ ตอนแรกก็มีการต่อต้านบอกว่าคนที่สูบบุหรี่เก่งๆ เยอะนะ ผมก็บอกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่แต่เก่งๆ ก็เยอะ มีบางคนมาผ่อนผันว่าขอเวลาเลิก 2 ปี ผมก็บอกว่าให้ออกไปเลิกข้างนอกก่อน เหตุผลง่ายๆ คือผมไม่สูบก็เลยไม่อยากได้กลิ่น..." คุณอดิศร บอกคุณสมบัติของคนงานสยามแฮนด์ส ซึ่งนอกจากจะห้ามยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดทุกชนิดแล้ว ยังต้องเป็นคนดีอีกด้วย ความเก่งไม่จำเป็น เพราะสามารถฝึกกันได้

"...ที่นี่เวลารับคนเข้าทำงานจะดูอยู่เรื่องเดียว คือ คนรักแม่ เพราะคนรักแม่มักจะไม่ทำชั่วและมีความรับผิดชอบ จากประสบการณ์ที่ผมเห็น คนเหล่านี้จะขยันทำงานและเก็บเงินส่งกลับบ้านหมด เราจะไม่เลือกคนเก่งคนคะแนนดี แต่เลือกคนนิสัยดีก่อน..."

ห่างออกไปไม่ไกลจากตัวโรงงาน ยังเป็นหอพักที่เจ้าของโรงงานสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่คนงาน เก็บเงินรายเดือนๆ ละเพียงคนละ 900 บาท จำนวนนี้เป็นค่าห้องพัก 200 บาท อีก 700 บาทเป็นค่าอาหารที่มีให้บริการครบ 3 มื้อ นอกจากจะทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางแล้ว ที่สำคัญคือคนงานจะได้เหลือเงินเก็บส่งกลับบ้านไปจุนเจือครอบครัวได้เยอะๆ

นอกจากการดูแลสิ่งแวดล้อม ดูแลพนักงาน ความใส่ใจต่อผู้บริโภคก็เป็นประเด็นสำคัญอีกข้อหนึ่งของผู้บริหารแตงโม โดยเฉพาะการผลิตเสื้อผ้าที่ประณีต และขายในราคาที่ไม่เอาเปรียบผู้บริโภค

"...คนงานที่นี่ เวลาเย็บผ้าผมจะให้เขาคิดถึงอยู่เรื่องเดียว คือนึกถึงรอยยิ้มคนที่มีความสุขที่ได้สวมใส่เสื้อผ้าที่มีคุณภาพ จากฝีมือประณีตที่เราตั้งใจทำ"

เสื้อผ้าในชื่อแตงโมจะไม่ขึ้นวางขายในห้างสรรพสินค้า แต่เลือกตลาดกลางอย่างโบ๊เบ๊และประตูน้ำเป็นที่กระจายสินค้า..

"...ผมวางธุรกิจที่ผมทำเป็นกองทัพป้องกันประเทศในสงครามเสื้อผ้า ห้างระดับบนราคาแพงจะมีสินค้าของไทยสักกี่เปอร์เซ็นต์ ส่วนตลาดล่างก็มีสินค้าจีนราคาถูกเข้ามาตีตลาด เหล่านี้ล้วนเป็นช่องทางที่เงินไหลออกนอกประเทศ ผมวางตลาดตัวเองที่โบ๊เบ๊และประตูน้ำ แต่เสื้อผ้าชนิดไหนที่ขายในห้าง ผมมีหมด..."

แตงโมสมานฉันท์ : ความรู้สึกดีๆ คือจุดเริ่มต้นของสันติภาพ

ในบรรดาเสื้อเหลืองที่คนไทยร่วมกันใส่เพื่อแสดงออกถึงพลังแห่งความจงรักภักดีต่อในหลวง จำนวนหนึ่งนั้นคือฝีมืออันประณีต ความหวัง และความตั้งใจที่เต็มเปี่ยมของผู้หญิงมุสลิม เป็นหนึ่งในกิจกรรมสร้างสรรค์สังคมของบริษัทสยามแฮนด์ส ที่นำผู้หญิงมุสลิมจากหมู่บ้านในพื้นที่สีแดง 3 จังหวัดชายแดนใต้มาฝึกอบรมเย็บเสื้อยืดในโรงงาน เพื่อกลับไปสร้างอาชีพเสริมในชุมชนของตน

เริ่มต้นจากการพูดคุยแลกเปลี่ยนระหว่าง คุณอมรา พวงชมภู กับ พล.ต.พิเชษฐ์ วิสัยจร รองแม่ทัพภาค 4 ผู้ดำเนินตามนโยบาย "เปลี่ยนอาวุธเป็นอาชีพ" ที่เกิดเป็น "โครงการแตงโม + กองทัพภาค 4 เพื่อพี่น้อง 3 จังหวัดภาคใต้" โดยนำผลผลิตแตงโมไร้สารพิษที่ทหารได้เข้ามาสอนชาวบ้านปลูกในพื้นที่ อ.สุไหงปาดี นำไปขายที่โรงงานแตงโม

"...ตอนจัดงานแตงโมแฟร์ ผมเอาผลผลิตแตงโมจากหมู่บ้านบอเกาะมาขายด้วย ครึ่งวันแรกขายไม่ค่อยได้ เพราะคนรู้สึกว่าแพง แต่พอคนรู้ว่ามาจากหมู่บ้านใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ กลับขายดี เพราะคนซื้อเขารู้ว่ามันหมายถึงอะไร มันเป็นน้ำใจที่คนไทยให้กัน แม้จะไม่รู้จักกัน" คุณอดิศร ย้อนรอยให้ฟัง

จากนั้นก็เชื่อมโยงไปถึงแนวคิด "ทำเสื้อเพื่อให้เกิดสันติภาพ" ซึ่งทำให้ชาวบ้านมีรายได้เสริมจากผลผลิตทางการเกษตร คือ โครงการแตงโมสมานฉันท์" โดยนำผู้หญิงมุสลิม บ้านบอเกาะ ต.สากอ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส จำนวน 11 คน ที่มีพื้นฐานการเย็บปักถักร้อยอยู่แล้ว มาฝึกเย็บเสื้อยืดคอปกตราครองราชย์ เป็นเวลา 1 เดือนที่โรงงานแตงโม

เมื่อพวกเธอกลับไปก็เกิดโรงงานเล็กๆ ขึ้นในหมู่บ้าน โรงงานซึ่งเกิดได้จากเพื่อนชาวมุสลิมบริจาคที่ดิน สยามแฮนด์สสนับสนุนเครื่องมือและจักรเย็บผ้า กลุ่มเพื่อนนักธุรกิจของแตงโมบริจาควัสดุก่อสร้าง แรงงานก่อสร้างจากผู้ชายในหมู่บ้านที่กลางวันกรีดยางกลางคืนมาก่อสร้าง และทหารที่เข้ามาช่วยในเวลากลางวัน

"เดือนเดียวที่คนเหล่านี้กลับไป พวกเขาตั้งโรงงานเล็กๆ ในหมู่บ้าน มีคนบริจาคที่ดินให้ชาวบ้านเรี่ยไรเงินกันเอง และได้รับการบริจาควัสดุก่อสร้างจากกระเบื้องโอลิมปิคดูราเกรส แกรนด์โฮมมาร์ท แล้วชาวบ้านก็ร่วมกันสร้าง.. ผมคิดว่าโรงงานนี้คงไม่ถูกวางระเบิด เพราะถ้าโดนคนที่เจ็บปวดคงไม่ใช่แตงโม หรือดูราเกรส ฯลฯ แต่เป็นชาวบ้านด้วยกันเอง..." คุณอดิศร ให้ความเห็น

ปัจจุบันโรงงานเย็บผ้าสมานฉันท์บ้านบอเกาะ ยังทำหน้าที่ฝึกอบรมฝีมือให้เด็กๆ และชาวบ้านในหมู่บ้านรวมถึงที่ใกล้เคียง มีคนภายนอกแวะมาเยี่ยมเยียนจำนวนมากทั้งคนที่มาดูงาน นักท่องเที่ยว นักข่าว จากหมู่บ้านไกลปืนเที่ยง วันนี้ข้างโรงเรือนเย็บผ้าของผู้หญิงมีพ่อบ้านและเด็กๆ ไทยมุสลิม มีเพื่อนทหารไทยพุทธมารวมกันอยู่ตั้งแต่เย็นจน 2-3 ทุ่ม

หมู่ บ้านบอเกาะวันนี้มีสนามเด็กเล่น มีห้องเรียนเศรษฐกิจพอเพียง จากกิจกรรมที่คิดว่าจะเป็นรายได้เสริมก็เริ่มเป็นรายได้หลัก ความเป็นอยู่ของชาวบ้านดีขึ้น และทุกๆ วันจันทร์ชาวบ้านบอเกาะทุกคนจะสวมเสื้อเหลืองเพื่อแสดงความจงรักภักดีต่อพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เสื้อแตงโมสมานฉันท์ทุกตัวจะบอกที่มาว่าเย็บโดยชาวบ้านบอเกาะ อ.สุไหงปาดี จ.นราธิวาส และที่สำคัญกว่านั้นคือได้ทำหน้าที่เป็นส่วนหนึ่งในสังคมที่เย็บความรักสามัคคีของคนไทยเข้าด้วยกัน นักธุรกิจและทหารที่ริเริ่มโครงการเป็นไทยพุทธ ชาวบ้าน 140 ครัวเรือน 800 คนเป็นไทยมุสลิม และคำขวัญของโรงงานเย็บผ้าบอเกาะคือ "สมานฉันท์ คือ พลังสันติสุข"

"...ยิ่งให้ก็ยิ่งได้รับ ความเข้าใจที่ดีต่อกันนั้นมันมีค่ามหาศาล มากกว่าต้องทำกำไรอยู่ตลอดเวลา..." คุณอมรา กล่าวย้ำ

นี่คงเป็นบทสรุปของนักธุรกิจสยามแฮนด์ส ที่ได้ทำประโยชน์ให้กับสังคมที่ตนดำรงอยู่

วันพฤหัสบดีที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2553

การปฏิบัติงานจิตอาสาที่โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ

รายชื่อสมาชิกในกลุ่ม
1. นายสมนึก จันทร์ชำนาญ เลขทะเบียน 5004100188
2. นายชัยรัตน์ มีหมื่นไวย เลขทะเบียน 5004100191
3. น.ส.วาริสา เหมกิตติวัฒน์ เลขทะเบียน 5004100203
4. น.ส.ณุจิรา สำราญราษฎร์ เลขทะเบียน 5004100204
5. น.ส.ชมพูนุท วรรณะพาหุณ เลขทะเบียน 5004100209
6. น.ส.ณัฐญาณี รัตนไพฑูรย์ เลขทะเบียน 5004100216
7. นายพุชฌพงษ์ อรุณเรื่อ เลขทะเบียน 5004100220
8. นายสุภิญโญ ช่อฮวด เลขทะเบียน 5004100221
9. น.ส.มนทิชา แสงทอง เลขทะเบียน 5004100222

ลักษณะงานจิตอาสาที่ทำ
สอนการบ้านน้องๆเด็กตาบอด เช่น วิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา เป็นต้น ช่วยหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต อ่านหนังสือให้น้องๆฟัง

ผลการปฏิบัติงาน
น้องๆได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น ทำให้พวกเรารู้สึกสบายใจและมีความสุขทุกครั้งที่ได้สอนการบ้านน้องๆ เราได้ยินเสียงหัวเราะ และความสุขตลอดเวลา

ปัญหาที่เกิดขึ้นและการแก้ไข
บางครั้งการบ้านของน้องๆเป็นวิชาที่เราไม่ถนัดคือ วิชาคณิตศาสตร์ ทำให้ไม่สามารถอธิบายหรือสอนน้องๆได้ชัดเจน

ข้อเสนอแนะ
อยากให้มีโครงการดีๆอย่างนี้ตลอดไปซึ่งจะทำให้น้องๆเด็กตาบอดได้พัฒนาความรู้ ความสามารถ และพวกเขาก็จะมีความสุขและไม่เหงาเมื่อมีพี่ๆจิตอาสาไปสอนการบ้าน

ความรู้สึกจากการไปปฏิบัติงานจิตอาสาที่โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ
ผมรู้สึกเป็นเกียรติมากที่ได้เข้าร่วมโครงการ Student’s Social Responsibility หรือโครงการนักศึกษาจิตอาสาที่โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพในความรับผิดชอบของอาจารย์สุชาดา เจริญนิตย์ และผมยังได้รับเลือกให้เป็นประธานกลุ่มอีกด้วย ในครั้งแรกก่อนเข้าร่วมโครงการก็ได้มีพี่ๆทีมงานที่ทำงานจิตอาสาโดยตรงมาปฐมนิเทศ ผมรู้สึกทึ่งในความมีน้ำใจของพี่ๆที่ได้เล่าให้ฟังถึงเทคนิคการช่วยเหลือนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่สวนจตุจักร

เมื่อผมได้ทำงานจิตอาสาวันแรก ผมได้ไปสอนการบ้านน้องๆเด็กตาบอดที่โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ราชวิถี ผมได้สอนการบ้านน้องๆวิชาภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ สังคมศึกษา เป็นต้น น้องๆส่วนใหญ่อยู่ในชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายใกล้แอดมิชชัน น้องๆบางคนอาจจะมีพื้นฐานความรู้น้อย ผมพยายามสอนให้น้องๆเข้าใจจากความรู้พื้นฐานง่ายๆก่อนและพยายามใจเย็น น้องบางคนเก่งภาษาอังกฤษมาก สำเนียงการพูดเหมือนเป็นเจ้าของภาษาเอง แต่ปัญหาที่พบ คือ การสอนวิชาคณิตศาสตร์กับน้องคนหนึ่ง เขาไม่ยอมให้ผมสอนเขา แต่เขาอยากให้ผมทำการบ้านให้ทั้งหมด เพราะเขาบอกว่าถ้าสอนตอนนี้เขาจะจำไม่ได้ เขาจะต้องไปติวเอง 1 อาทิตย์ก่อนสอบ แต่เขาไม่มีพื้นความรู้คณิตศาสตร์เลย และเขาก็ดื้อมาก ผมพยายามบอกเขาว่าวิชาคณิตศาสตร์เป็นวิชาที่ยาก ต้องใช้เวลาในการจำสูตร กฎ ซึ่งเป็นเรื่องยากที่จะมาเริ่มต้นเมื่อถึง 1 อาทิตย์ก่อนสอบ น้องก็ยังไม่เชื่อ ทำให้เป็นปัญหามาก และคงต้องค่อยๆแก้ไขปัญหาไปเรื่อยๆ

เมื่อจบโครงการผมได้รับเชิญให้เข้าร่วมอบรมการสอนหนังสือคนตาบอดที่โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ทำให้ผมได้ทราบว่าน้องๆน่าสงสารมาก เขาต้องการสื่อการเรียนการสอนเป็นอย่างมากไม่ว่าจะเป็น เทป ซีดี หรือหนังสือที่มีตัวอักษรขนาด 76 ทำเป็นหนังสืออ่านนอกเวลาสำหรับน้องที่พอมองเห็นลางๆ แม้น้องๆจะตาบอดแต่พวกเขาก็ไม่เคยละทิ้งเรื่องการศึกษา การศึกษายังคงมีความสำคัญ และเป็นที่ต้องการสำหรับคนทุกเพศ ทุกวัย ทุกกลุ่มคนทั้งคนปกติ และไม่ปกติ นักเรียน นักศึกษาที่ได้เรียนจนถึงระดับปริญญาน่าจะภาคภูมิใจที่มีโอกาสได้รับการศึกษา ตลอดชีวิตที่ผ่านมาเราได้รับโอกาสทางการศึกษามามากแล้ว คงถึงเวลาที่พวกเราจะเปลี่ยนสถานะมาเป็นผู้ให้โอกาสทางการศึกษากับน้องๆเด็กตาบอดที่กำลังรอโอกาสจากคนตาดีทุกคน

นายสมนึก จันทร์ชำนาญ
คณะมนุษยศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจ
ประธานโครงการจิตอาสากลุ่มโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ปี2552

วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปฏิบัติงานโครงการจิตอาสา ณ สถานสงเคราะห์บ้านราชวิถี 3

รายชื่อกลุ่ม
1. นางสาวภัทรีย์ สุขพรรณพิมพ์
2. นางสาวจิตลดา วิหคทอง
3. นางสาวสุวีร์ณัช สิทธิโชควโรดม
4. นางสาวพรธิดา ตระกานโภคา
5. นายธนพล กุลครอง
6. นายมนต์ชัย กิตติรัตนสกุล
7. นายกิตติ วิจิตรเอกฉันท์
8. นายชานนท์ สุรชาติชูพงศ์
9. นายอนุวัฒน์ โพธิ์ทอง
10. นายปริภัทร ใจสนิท
11. นายภูริเดช เรืองพิพัฒน์

ลักษณะงานจิตอาสาที่ทำ
กลุ่มของดิฉันได้ไปปฎิบัติหน้าที่ที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี ซึ่งมีเด็กตั้งแต่อายุน้อยมากจนถึงวัยรุ่น แต่กลุ่มของดิฉันได้รับหน้าที่ให้สอนการบ้านภาษาอังกฤษของน้องๆชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ลักษณะของงานคือสอนพื้นฐานของภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ตัวอักษร พยัญชนะ สระ และ วัน เดือน ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเราจะสอนน้องๆให้เขียนตามกระดาษและให้น้องๆอ่านตามเสียงต่างๆที่พวกเราพูด ยกตัวอย่างเช่น A ออกเสียง เอ ซึ่งตอนแรกเราจะมีภาษาไทยเขียนบอกไว้ เพื่อง่ายต่อความเข้าใจของน้องๆ และเพื่อให้น้องๆจำได้ เราจึงค่อยลบภาษาไทยออกและให้น้องเดาว่าคำที่อยู่บนกระดาษนั้นอ่านว่าอะไร

ผลการปฏิบัติงาน
เป็นเรื่องที่น่าดีใจเช่นกัน เมื่อเราได้การต้อนรับที่ดีจากน้องๆ คือ ตอนอาทิตย์แรกกลุ่มของดิฉันได้สอนน้อง ป.3 ซึ่งจริงๆแล้วต้องสอนน้องๆ ป.2 เพราะเนื่องจากน้องๆ ป.2 มีเรียนตลอดเลยทำให้ได้เข้าไปสอนภาษาอังกฤษให้กับน้อง ป.3แทน ซึ่งเราได้สอนเรื่องตัวอักษร ABC และเดือนทั้ง 12 เดือนให้กับน้องๆ ซึ่งน้องๆทุกคนจดตามที่สอนได้เป็นอย่างดี และยังตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือกับพี่ๆเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นน้องยังได้ถามว่า อาทิตย์หน้าจะมาสอนพวกเขาอีกไหม ซึ่งทำให้พวกเรานั้นประทับใจเช่นกัน ว่าน้องๆเขาอยากเรียนกับเราจริงๆ ส่วนน้องๆป.2 ถึงแม้ว่าจะซนอยู่บ้าง แต่โดยรวมนั้นถือว่าตั้งใจเรียนเช่นกัน และให้ความร่วมมือกับพี่ๆเป็นอย่างดี

ปัญหาที่เกิดขึ้นและการแก้ไข
ปัญหาหลักคือความไม่พร้อมของน้องๆ ซึ่งน้องๆอยู่ประถามศึกษาแล้ว น่าจะเขียน A-Z ได้แล้วในเกณฑ์ปกติ แต่การสอนภาษาอังกฤษให้น้องๆนั้น ทำได้ยากเพราะด้วยความที่น้องเรียนๆหยุดๆและไม่ค่อยมีพื้นฐานในด้านภาษาอังกฤษเท่าที่ควร ดังนั้นการแก้ปัญหาขั้นแรกคือการปูพื้นฐานให้น้อง เช่น ตัวเขียน ตัวพิมพ์ และฝึกให้น้องๆร้องเพลง ABC เพื่อการจำที่แม่นยำขึ้น
ปัญหาอื่นๆ เช่น น้องๆดื้อและซน ซึ่งเป็นธรรมดาของเด็กๆวัยนี้ พี่แต่ละคนมีทักษะในการสอนน้องที่บ้านมาบ้าง และได้นำทักษะเหล่านั้นมาใช้เพื่อดึงดูดความสนใจน้องๆ เช่น คราวหน้าพี่จะไม่มาแล้วถ้าน้องๆดื้อแบบนี้ น้องๆจึงค่อยเงียบและฟังพี่ๆมากขึ้น

ข้อเสนอแนะ
- น่าจะมีงบประมาณ สำหรับการเดินทางให้กับนักศึกษาเพราะบางคนบ้านอยู่ไกลมาก
- เวลากระชั้นชิดเกินไป นักศึกษาบางคนทานข้าวช้า จึงต้องรีบทานให้เสร็จเพื่อที่จะไปให้ทัน

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปฏิบัติงานโครงการจิตอาสา ณ สถานสงเคราะห์บ้านราชวิถี 2


รายชื่อกลุ่ม

1. นาย ปฐมพล พูลทรัพย์ 5104100095
2. น.ส. วิรดี ฉัตรรัตน์ศักดิ์ 5104100096
3. น.ส. นวพร พิเชฐจำรัสชีพ 5104100104
4. น.ส. สุมลทา ประสพสุวรรณ 5104100105
5. น.ส. ชุติมณฑน์ ลาภศิริพานิชกุล 5104100106
6. น.ส. ศศิวิมล พูลแก้ว 5104100112
7. น.ส. เพชรรัตน์ แก้ววิชิต 5104100118
8. น.ส. วันเพ็ญ หนูแดง 5104100122
9. น.ส. อภิญญา เป้าศิริ 5104100131
10. น.ส. ชุติสา เอกชนิตพงษ์ 5104100132
11. นาย กฤติน วงศ์ภูวรักษ์ 5104100134
12. นาย จีรายุส ชิวะละลิน 5104100136 หัวหน้ากลุ่ม
13. น.ส. ระพีพรรณ มะลิวัลย์ 5104100138

ลักษณะงานจิตอาสาที่ได้ปฏิบัติ
พวกเราได้เข้าไปช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษให้น้องๆบ้านราชวิถี โดยมีเนื้อหาในการสอนเกี่ยวกับ คำศัพท์และบทสนทนาง่ายๆ เพื่อให้น้องๆประถมศึกษาปีที่ 1 นำไปใช้ในการเรียนและอนาคตได้

ห้องเรียนที่พวกเราได้รับหน้าที่ไปทำการสอนมีนักเรียนประมาณ 26 คน ซึ่งพวกเราต้องดูแลประมาณ 1 ต่อ 2 หรือ 1 ต่อ 3 ทั้งนี้ พวกเราไม่ได้ไปเพียงแค่ให้ความรู้แต่เรายังไปกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก ความอยากศึกษาเล่าเรียน ซึ่งเด็กๆเหล่านี้ยังขาดอยู่เพราะว่าพวกเค้าไม่รู้ว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร อีกทั้งการดูแลเอาใจใส่ที่อบอุ่นที่พวกเราต้องช่วยให้น้องๆเค้ามีชีวิตที่ดีขึ้น

ผลการปฏิบัติงาน
ผลจากการที่ได้เข้าไปสอนน้องๆ แน่นอนว่าน้องๆที่บ้านราชวิถีได้รับความรู้ ความสนุกสนาน น้องๆมีชีวิตชีวามากขึ้น เกิดความอยากเรียน ความอยากรู้ขึ้นมากมาย อีกทั้งด้านจริยธรรมที่เราคอยส่งเสริมอย่างสม่ำเสมอ ทำให้น้องๆมีพัฒนาการที่ดีขึ้น น้องๆพูดได้ เขียนได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ทุกคนก็ตาม แต่ทุกคนก็ได้รับอะไรกลับไปมากกว่าความรู้แน่นอน ซึ่งจะคอยส่งเสริมน้องๆในภายภาคหน้านั่นเอง

ปัญหาที่เกิดขึ้นและการแก้ไข
ปัญหาก็ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ตัวอย่างเช่น เด็กดื้อ เด็กซน ขี้งอน ขี้น้อยใจ มีปัญหาทางด้านอารมณ์ ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็กที่มีปัญหา เราต้องเข้าใจในจุดนี้ ซึ่งทางแก้ก็ไม่ง่ายและไม่ยาก นั่นก็คือเราต้องค่อยๆดีกับเค้าด้วยใจจริง ใช้ความใจเย็นแก้ปัญหา ค่อยเป็นค่อยไปเป็นการซื้อใจเด็กๆไปในตัวอีก อีกปัญหาก็คืออุปกรณ์การสอนยังขาดแคลนอยู่บ้างบางส่วน

ข้อเสนอแนะ
ก็อย่างที่รู้กันว่าปีนี้เป็นปีแรกของโครงการ Student Social Responsibility ของการทำงานจิตอาสากับเด็กๆบ้านราชวิถี ความลงตัวและอุปกรณ์ต่างๆในปีหน้า ควรจะชัดเจนและครบเครื่องมากกว่านี้ ในความคิดของพวกเรากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ควรมีต่อไปอย่างมาก เพราะเราได้ลงมือทำและจิตอาสาอย่างแท้จริงที่เราได้ทำไปโดยไม่ได้ต้องการผลตอบแทน

การปฏิบัติงานโครงการจิตอาสา ณ สถานสงเคราะห์บ้านราชวิถี 1

รายชื่อกลุ่ม

1. นางสาวกมลวรรณ อุ่นเอม 5104100040
2. นางสาวเสาคนธ์ ธรรมจารีรักษ์ 5104100031
3. นางสาวพรพิมล สุขใหม่ 5104100042
4. นางสาวนันทพร ฤทธิ์อิ่ม 5104100045
5. นางสาวสโรชา แสงพัฒนาพร 5104100037
6. นางสาวทิษฏยา ณ บุญวงศ์ 5104100009 หัวหน้ากลุ่ม
7. นางสาวกรรณิการ์ วนิชชากร 5104100035
8. นางสาวลออลักษณ์ สุจริตชีววงศ์ 5104100030
9. นางสาวอภิญญา ใครัมย์ 5104100036
10. นางสาวนงลักษณ์ วัฒน์แก้ว 5104100033
11. นางสาวธัญพร รอดทิม 5104100007

ลักษณะการทำงาน
โครงการจิตอาสานั้นจัดขึ้นเพื่อให้เรามีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสมือนการนำความรู้ที่เราได้ศึกษามาแบ่งปันกับน้องๆที่ขาดความรู้ ความสามารถได้เข้าใจและได้รับความรู้ต่างๆมากมาย เพื่อให้มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน ลักษณะในการทำงานนั้น เราจะแบ่งเป็นหลายๆกลุ่ม อาทิเช่น กลุ่มสอนเด็กกศน. กลุ่มสอนเด็กชั้นประถมศึกษา แต่ละกลุ่มนั้นก็จะมีการสอนแตกต่างกันออกไป ความยากง่ายก็จะแตกต่างไปด้วยเช่นกัน ส่วนกลุ่มของพวกเราได้รับหน้าที่ให้สอนเด็กกศน. ซึ่งเป็นเด็กที่โตแล้วในระดับหนึ่ง

ปัญหาที่เกิดขึ้นและการแก้ไข
ไม่ว่าเราจะทำอะไรในครั้งแรกก็ย่อมเกิดปัญหาอย่างแน่นอน ปัญหาที่ว่านั้นคือ น้องๆบางคนไม่อยากเรียน จึงไม่ค่อยตั้งใจฟังสิ่งที่พวกเราได้ทำการสอนไป เด็กๆบางคนถึงกลับชักสีหน้าให้พวกเราเห็นว่าพวกเขาไม่อยากเรียนกันจริงๆ ครั้งแรกน้องๆอาจจะรู้สึกเบื่อกับบทเรียนที่ตนเองกำลังได้รับ แต่เมื่อเราเริ่มทำการสอนมาเป็นสัปดาห์ที่ 2-3 แล้ว เราก็รู้สึกได้ว่าความรู้สึกของน้องๆนั้นเปลี่ยนไปจากที่เคยพูดว่าไม่อยากเรียน แต่ตอนนี้เด็กๆกลับพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “หนูอยากให้พวกพี่มาสอนทุกวันเลย” อาจจะเป็นเพราะว่าการแก้ปัญหาของพวกเรานั้น สามารถดึงเด็กๆเหล่านี้ให้มาสนใจบทเรียนได้ โดยวิธีการแก้ปัญหาคือ เปลี่ยนวิธีการสอนแต่ในตำราซึ่งจะทำให้เด็กเบื่อ มาสอนนอกตำราบ้าง แต่ไม่ถึงกลับน้องเรื่องไปเสียหมด อีกทั้งยังเพิ่มความสนุกสนานให้กับเนื้อหานั้นๆ ดังนั้นจึงทำให้เด็กๆอยากมีส่วนร่วมมากขึ้น และมีความรู้สึกที่อยากจะเรียนมากขึ้นอีกด้วย

ผลการปฏิบัติงาน
จากการที่พวกเราได้เข้าร่วมโครงการจิตอาสา สิ่งที่เราได้รับคือ ความสุข เสียงหัวเราะ รอยยิ้มจากเด็กๆ อีกทั้งยังได้พัฒนาเด็กๆเหล่านี้ให้มีความรู้ ความสามารถมากยิ่งขึ้น พวกเราหวังว่าการได้เข้าร่วมโครงการจิตอาสานี้จะทำให้เด็กๆได้รับประโยชน์จากพวกเราไม่มาก็น้อย และหากว่ามีโครงการอีกพวกเราก็ขอยืนยันว่าจะเข้าร่วมโครงการนี้อีกแน่นอน

ข้อเสนอแนะ
- การประสานงานกับทางภาคส่วนที่เราจะเข้าไปปฏิบัติงานยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ดังนั้นควรปรับปรุงด้านการประสานงานให้มีความเรียบร้อยมากขึ้น
- สถานที่ในการสอนดูแออัดคับแคบเกินไปทำให้การเรียนการสอนเป็นอย่างลำบาก ดังนั้นควรให้สถานที่ให้เหมาะสมกว่านี้

การปฏิบัติงานจิตอาสาที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี 4


รายชื่อกลุ่ม
1. นางสาวอำพร บัวพวงชน 5004100185
2. นางสาวระพีพรรณ จิตต์ไพบูลย์ 5004100189
3. นางสาวสุนันทรา คูณสุข 5004100192
4. นางสาวภาพร ภู่เกษมสมบัติ 5004100200
5. นางสาวจุลลินภรณ์ วีระเกียรติ 5004100207
6. นางสาวมัดทิรา ชาวสวน 5004100217
7. นาวสาวธิดารัตน์ ตันเจริญ 5004100223
8. นางสาวสิริภัสสร หิรัญสุรรัฐโชติ 5004100228

ลักษณะงานจิตอาสาที่ทำ
-สอนภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยสอนตามหนังสือที่ทางโครงการจัดเตรียมไว้ให้ คือสอนคัดอังกฤษเป็นคำศัพท์ตามหมวดหมู่
ผลการปฏิบัติงาน
-น้องๆให้ความร่วมมือและตั้งใจเรียน จึงทำให้น้องได้รับความรู้จากที่พี่ๆสอน
ปัญหาที่เกิดขึ้นและการแก้ไข
-น้องๆส่วนใหญ่เขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษไม่ถูกและแยกไม่ออกระหว่างตัวอักษรพิมพ์เล็กและตัวอักษรพิมพ์ใหญ่
-จำนวนพี่น้อยกว่าน้อง จึงเกิดปัญหาสอนได้ไม่ทั่วถึง
ข้อเสนอแนะ
-การไปสอนน้องยังไม่ใช่การฝึกทักษะการสนทนาภาษาอังกฤษอย่างแท้จริง
-อยากได้ให้ไปช่วยเหลือชาวต่างชาติมากกว่าเพราะเป็นการได้เอาความรู้ทางภาษาอังกฤษที่มีอยู่มาใช้และยังเป็นการพัฒนาทักษะความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษด้วย

โครงการ Student Social Responsibility (SSR) ปีการศึกษา 2552

โดย อาจารย์สุชาดา เจริญนิตย์ ประธานโครงการ

หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมีหน้าที่ให้การบริการสังคม ดังนั้นสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจจึงสนับสนุนให้นักศึกษาออกไปบริการสังคม โดยไปช่วยงานในสถานที่ต่างๆ เช่น ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจท่องเที่ยว และ พิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพและฝึกการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

เป้าหมายของโครงการ
1. เพื่อบริการสังคม
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

วิธีการดำเนินการ
1. ติดต่อหน่วยงานที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ
2. ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครนักศึกษา
3. ติดต่อวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
4. จัดอบรมให้นักศีกษาก่อนส่งไปทำงานอาสาสมัครในหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ
5. ติดตามผลการทำงานของนักศึกษาเป็นระยะๆ
6. ประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาในการทำกิจกรรม
ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2552-เมษายน 2553

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. มหาวิทยาลัยได้ให้บริการสังคม และเผยแพร่ชื่อเสียงของคณะและมหาวิทยาลัย
2. นักศึกษามีโอกาสไปบริการสังคมและฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน

วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

“จิตสาธารณะ” ทุนของมนุษย์ในโลกยุคใหม่

มติชนรายวัน 22 ตุลาคม 2550

“บุคคลจะสามารถเอาตัวรอดและประสบความสำเร็จทั้งในด้านการทำงาน และการดำเนินชีวิตในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ได้จะต้องมีจิตสาธารณะทั้ง 5 ประการ ประกอบรวมอยู่ในตัวของคนๆนั้น นอกจากนี้จิตสาธารณะทั้ง 5 ยังจะช่วยจรรโลงให้สังคมโลกในอนาคตเป็นสังคมที่น่าอยู่มากยิ่งขึ้น”

ข้อความข้างต้นคือข้อสรุปจากหนังสือ Five minds for the Future ซึ่งเป็นหนังสือเล่มล่าสุดของ Howard Gardner นักวิชาการด้านการศึกษาแห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้เขียนเรื่อง Frame of Minds และ Changing Minds ที่เคยจุดประเด็น ทฤษฎีพหุปัญญา (Multiple Intelligence) จนโด่งดังไปทั่วทั้งวงการศึกษาที่มีแนวคิดแตกต่างออกไปว่า…

“ความฉลาดนั้นไม่ได้ขึ้นอยู่กับการวัดจากไอคิว ซึ่งเน้นแค่การคำนวณ ตรรกะและภาษาเพียงเท่านั้น แต่ความฉลาดนั้นมีด้วยกันหลายด้านและมนุษย์แต่ละคนนั้นก็มีความฉลาดเฉพาะตน ที่แตกต่างกันออกไป”

ในหนังสือเล่มล่าสุดของ Gardner ที่สำนักงาน ก.พ.กำลังเตรียมที่จะนำสาระมาถ่ายทอดเป็นหนังสือน่าอ่าน ได้ชี้ให้เห็นและเน้นความสำคัญของ “ความฉลาดหรือทักษะ” ซึ่ง Gardner ใช้แทนด้วยคำว่า “จิต” (Mind) ทั้ง 5 ประการที่มีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ในทุกๆด้านในโลกยุคศตวรรษที่ 21 ซึ่งจิตทั้ง 5 นั้นประกอบไปด้วย

1.จิตแห่งวิทยาการ (Disciplined Mind) หมายถึง “การเรียนรู้ตลอดชีวิต คิดเป็น ทำเป็น” 2.จิตแห่งการสังเคราะห์ (Synthesizing Mind) หมายถึง “การสั่งสม ต่อยอด และสร้างนวัตกรรมความรู้” 3.จิตแห่งการสร้างสรรค์ (Creating Mind) ที่เชื่อว่า “ความคิดสร้างสรรค์สร้างด้วยการหมั่นฝึกฝน” 4.จิตแห่งความเคารพ (Respectful Mind) หมายถึง “การเปิดใจกว้างพร้อมรับฟังทุกความคิดเห็น” และ 5.จิตแห่งคุณธรรม (Ethical Mind) อันสรุปได้ว่า “ความรู้คู่คุณธรรม นำการพัฒนา”

Gardner ยังได้เน้นว่า จิตทั้ง 5 นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมากต่อมนุษย์ในโลกยุคใหม่ และจะต้องมีครบทั้ง 5 จิต จะขาดจิตใดจิตหนึ่งไปเสียไม่ได้ เพราะจิตทั้ง 5 มีผลต่อการพัฒนาตัวบุคคลทั้งในแง่การทำงานและการดำเนินชีวิต ซึ่งจะส่งผลให้สังคมมีคนที่มีคุณภาพ โดยจะกลายเป็นพลังในการที่จะขับเคลื่อน องค์กร สังคม และประเทศชาติให้ก้าวไปสู่จุดมุ่งหมาย และยืนหยัดอยู่ภายใต้การแข่งขันในโลกยุคใหม่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน

ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้สาธารณะด้านการจัดการทุนมนุษย์ สำนักงาน ก.พ. ได้อธิบายถึงความจำเป็นในการเร่งพัฒนาทุนมนุษย์ของประเทศไทยว่า โลกในปัจจุบันได้เปลี่ยนจากสังคมเกษตรกรรมมาสู่สังคมฐานความรู้ ซึ่งกุญแจแห่งความสำเร็จในสังคมฐานความรู้นั้นประกอบไปด้วย 1.รู้หรือไม่ว่าในโลกนี้มีอะไร (Knowing) 2.รู้แล้วนำมาคิดต่อยอดได้หรือไม่ (Thinking) 3.นำความคิดนี้ไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้หรือไม่ (Serving) และ 4.นำความรู้ที่มีและได้มานั้นมาเป็นประสบการณ์ได้หรือไม่ (Experiencing)

ซึ่งทั้ง 4 ข้อนี้คือองค์ประกอบที่สำคัญของสังคมฐานความรู้ แต่ในสังคมหลังฐานความรู้จะมีองค์ประกอบที่สำคัญอีก 4 ข้อเข้ามาเพิ่มเติม ซึ่งประกอบไปด้วย 1.ความเชื่อมั่นและความไว้วางใจต่อกัน (Trusting) 2.ความใส่ใจต่อผู้อื่น (Caring) 3.การแบ่งบันกับผู้อื่น (Sharing) และ 4.ความร่วมมือร่วมใจ (Collaborating)

สรุปได้ว่าในโลกยุคสังคมหลังฐานความรู้จะเป็นการรวมกันขององค์ประกอบหลัก จากสังคมทั้งสองยุค แสดงให้เห็นถึงแนวโน้มของโลกว่ากำลังย้อนกลับไปสู่ค่านิยมในเรื่องของจิตใจ ที่ดีงามในยุคของสังคมเกษตรกรรม แต่ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็ได้นำเอาเทคโนโลยีการสื่อสารมาใช้ให้เกิดเครือข่าย การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน

ซึ่งองค์ประกอบจากสังคมทั้ง 2 ยุคสอดคล้องกับกับแนวคิดเรื่อง “จิตทั้ง 5” ของ Gardner อย่างลงตัว และมีเป้าหมายเดียวกันกับนโยบายการบริหารประเทศ ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 ที่มุ่งเน้นในเรื่องของ “การเตรียมความพร้อมของคนไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะต้องเผชิญในอนาคต”

นั่นก็หมายถึงว่านอกจากเราจะสร้างความรู้ให้กับคนแล้ว ยังจะต้องสร้างและพัฒนา ความคิด ทัศนคติ มุมมองต่อโลกและสังคม ในแง่ของ “จิตใจ” ตามแนวทางการพัฒนา “ความรู้คู่คุณธรรม” ให้เกิดขึ้นกับคนในสังคมและประเทศชาติ

“โลกในยุคสังคมหลังฐานความรู้จะมุ่งเน้นไปสู่เรื่องของการใส่ใจและการแบ่ง ปัน คือการที่คนเรามีค่านิยมในเรื่องของจิตสาธารณะก็จะทำให้คนเราเกิดความใส่ใจ และห่วงใยกัน แต่ในขณะเดียวกันเราก็นำเอาความรู้หรือข้อมูลต่างๆที่มีออกไปเผยแพร่และแบ่ง ปันกัน ซึ่งทั้งหมดนี้ก็คือหัวใจหลักของการพัฒนาทุนมนุษย์” ดร.สุวิทย์ กล่าวสรุป

การเตรียมความพร้อมของคนไทย เพื่อรองรับกับความเปลี่ยนแปลงที่กำลังเกิดขึ้นทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้อง ปรับตัวและเตรียมพร้อมในเรื่องของกำลังคนให้มีคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึง ประสงค์ในอนาคตดังที่ Gardner ได้กล่าวไว้ใน Five Minds for the Future นั่นเอง

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

งานอาสาสมัคร โรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ

ความเป็นมา

งานอาสาสมัครเพื่อช่วยเหลือบุคคลที่มีความบกพร่องทางการ เห็นดำเนินมาพร้อมกับงานการศึกษาของผู้ที่มีความบกพร่องทางการเห็น เมื่อปี พ.ศ. 2482 มิสเยเนวีฟ คอลฟิลด์ สุภาสตรีตาพิการ ชาวอเมริกัน จากประเทศสหรัฐอเมริกา ท่านมาประเทศไทยด้วยกุศลเจตนาอย่างแน่วแน่ในการให้การศึกษาแก่คนตาบอด ด้วยไม่สนใจต่อคำพูดที่ว่าคนตาบอด น่าสงสาร ทุพพลภาพ ไร้ความสามารถ ไม่มีประโยชน์ต่อใคร ท่านได้พิสูจน์แล้วว่าคนตาบอดมีความสามารถ จึงมุ่งมั่นที่จะให้การศึกษาคนตาบอดอย่างเต็มที่ ฝ่าฟันอุปสรรคหลายๆ อย่างเพื่อคนตาบอดในประเทศไทย อย่างไรก็ดีในการทำงานของท่าน ยังมีผู้มีน้ำใจประเสริฐ มีเมตตากรุณาเข้าใจ และเล็งเห็นความสำคัญในการให้การศึกษาแก่คนตาบอด พร้อมที่จะเสียสละความสุขส่วนตัวมาร่วมทำกิจกรรม ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพื่อนๆ ของมิสคอลฟิลด์ งานอาสาสมัครจึงเริ่มต้นอย่างไม่เป็นทางการ จนท่านเหล่านั้นได้ช่วยกันจัดตั้งเป็นมูลนิธิช่วยคนตาบอดฯ ได้สำเร็จ งานอาสาสมัครยังคงมีต่อมาเรื่อยๆ เพื่อสนับสนุนด้านการศึกษา และงานช่วยเหลือคนตาบอดให้กว้างขึ้น

ในระยะเวลาที่ผ่านมางานอาสาสมัครยังไม่เป็นทางการ ส่วนใหญ่จะเป็นการเชื้อเชิญระหว่างผู้ที่มาเป็นอาสาสมัครด้วยกัน คุณครูวิมล อ่องอัมพร และ Mr. Renn Fuller เป็นบุคคลที่มีความพยายามให้มีโครงการนี้เกิดขึ้น ปัจจุบันทางโรงเรียนสอนคนตาบอดกรุงเทพ ได้จัดตั้งโครงการอาสาสมัครอย่างเป็นทางการ โดยมีคุณวรลักษณ์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา เป็นประธานโครงการฯ นอกจากนั้นยังเริ่มมีการให้ความรู้เบื้องต้นแก่อาสาสมัครที่มาช่วยงานให้ เข้าใจผู้ที่บกพร่องทางการเห็นมากขึ้น นอกจากนั้นทางโครงการได้มีการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เบื้องต้นแก่อาสาสมัคร ที่มีความสนใจในการช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องทางการมองเห็นในส่วนของการ ศึกษาและด้านอื่นๆ มากขึ้น นับได้ว่าเป็นการเปิดโลกกว้างที่ไม่มีช่องว่างระหว่างคนปกติและผู้ที่ บกพร่องทางการเห็นที่จะอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข

ในปัจจุบันงานอาสาสมัครยังมีส่วนช่วยให้นักเรียนที่บกพร่องทางการเห็นซึ่งออกไปเรียนร่วมกับนักเรียนในโรงเรียนปกติด้วยการสอนเสริม ให้ความรู้เพิ่มเติมแก่นักเรียน นอกจากนั้นยังมีสอนให้นักเรียนเข้าใจชีวิต การปรับตัวเอง ในการที่จะพัฒนานักเรียนที่บกพร่องทางการเห็นได้มีชีวิตอยู่ร่วมกับบุคคล อื่นในสังคมอย่างมีความสุข

ในการจัดการศึกษาให้กับเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น เพื่อให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ การเรียนรู้สามารถค้นหาจากห้องสมุดหรือได้รับการแนะนำจากผู้ที่ให้การสนับ สนุน งานอาสาสมัครจึงมุ่งเน้นในการนำผู้ที่สนับสนุนการศึกษาของเด็กที่มีความ บกพร่องทางการเห็นมาช่วยทำประโยชน์ทั้งทางตรง และทางอ้อมมากที่สุด งานอาสาสมัครจะช่วยให้นักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเห็นได้เรียนรู้และ อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมปกติ และยังช่วยให้อาสาสมัครได้รู้วิธีการให้การช่วยเหลือบุคคลที่มีความบกพร่อง ทางการมองเห็นได้อย่างถูกต้อง

อาสาสมัครนับว่าเป็นบุคคลที่มีความเสียสละอุทิศเวลาและให้การสนับสนุนในด้านการศึกษาและอื่นๆ ของเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็น การรวบรวมข้อมูล การเสนอแนะวิธีการ ที่จะช่วยงาน รวมทั้งขอบข่ายของงานอาสาสมัคร การติดตามการทำงานของอาสาสมัคร ตลอดจนการประกาศเกียรติคุณของอาสาสมัคร เพื่อให้อาสาสมัครมีกำลังใจที่จะช่วยเหลือเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นต่อไป

คุณสมบัติของอาสาสมัคร

1. ไม่จำกัดเพศ และอายุ
2. มีจิตใจช่วยเหลือผู้บกพร่องทางการเห็น

ประเภทของอาสาสมัคร

1. บุคคลทั่วไป
2. นักเรียน นักศึกษา
3. อาสาสมัครที่ทำงานบริการสังคมแทนค่าปรับ

ลักษณะงานของอาสาสมัคร
1. อ่านหนังสือลงเทป (Talking Book)
2. การพิมพ์หนังสือลงแผ่นดิสก์เพื่อแปลเป็นอักษรเบรลล์และจัดทำหนังสือตัวโตสำหรับเด็กสายตาเลือนลาง
( Low Vision)
3. สนับสนุนในกิจกรรมของนักเรียนที่บกพร่องทางการเห็น ได้แก่
3.1 กิจกรรมสำหรับเด็กเล็ก
* ดูแลเด็ก พาเด็กเดินเล่น
* อ่านนิทานให้เด็กฟัง
* สอนดนตรี
* ช่วยฝึกกิจกรรมส่วนตัว (การดำรงชีวิตประจำวัน)
* ช่วยแนะนำฟื้นฟูบุคลิกภาพของเด็ก
3.2 กิจกรรมสำหรับนักเรียนประถมปีที่ 1-6 (อายุ 8-15 ปี)
* กิจกรรมทางวิชาการ
* กิจกรรมทางภาษา
* กิจกรรมพิเศษ เช่น ดนตรี ว่ายน้ำ ศิลปะ และอื่นๆ
* กิจกรรมนอกสถานที่
3.3 กิจกรรมสำหรับนักเรียนร่วมชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3
* ช่วยสอนการบ้านช่วงเย็น ตั้งแต่เวลา 15.30-19.00
* อ่านหนังสือให้เด็กฟังในวันหยุดราชการ
* กิจกรรมทางวิชาการ เช่น การสอนเสริมวิชาต่างๆ
* กิจกรรมทางภาษา
* กิจกรรมพิเศษ เช่น ดนตรี ว่ายน้ำ ศิลปะ
* กิจกรรมนอกสถานที่
* กิจกรรมพัฒนาทางสังคม และพัฒนาบุคลิกภาพ เป็นต้น
* อื่นๆ

4. การจัดหาทุนสนับสนุนเพิ่มเติมในเรื่องการศึกษา อุปกรณ์ และความเป็นอยู่ของนักเรียน
5. กิจกรรมร่วมกับผู้ปกครองให้ความรู้ในการดูแลเด็กที่มีความบกพร่องทางการเห็นที่บ้าน

Source:http://www.blind.or.th/school/volunteer.htm