วันอังคารที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปฏิบัติงานโครงการจิตอาสา ณ สถานสงเคราะห์บ้านราชวิถี 3

รายชื่อกลุ่ม
1. นางสาวภัทรีย์ สุขพรรณพิมพ์
2. นางสาวจิตลดา วิหคทอง
3. นางสาวสุวีร์ณัช สิทธิโชควโรดม
4. นางสาวพรธิดา ตระกานโภคา
5. นายธนพล กุลครอง
6. นายมนต์ชัย กิตติรัตนสกุล
7. นายกิตติ วิจิตรเอกฉันท์
8. นายชานนท์ สุรชาติชูพงศ์
9. นายอนุวัฒน์ โพธิ์ทอง
10. นายปริภัทร ใจสนิท
11. นายภูริเดช เรืองพิพัฒน์

ลักษณะงานจิตอาสาที่ทำ
กลุ่มของดิฉันได้ไปปฎิบัติหน้าที่ที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี ซึ่งมีเด็กตั้งแต่อายุน้อยมากจนถึงวัยรุ่น แต่กลุ่มของดิฉันได้รับหน้าที่ให้สอนการบ้านภาษาอังกฤษของน้องๆชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 และ 3 ลักษณะของงานคือสอนพื้นฐานของภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ตัวอักษร พยัญชนะ สระ และ วัน เดือน ในภาษาอังกฤษ ซึ่งเราจะสอนน้องๆให้เขียนตามกระดาษและให้น้องๆอ่านตามเสียงต่างๆที่พวกเราพูด ยกตัวอย่างเช่น A ออกเสียง เอ ซึ่งตอนแรกเราจะมีภาษาไทยเขียนบอกไว้ เพื่อง่ายต่อความเข้าใจของน้องๆ และเพื่อให้น้องๆจำได้ เราจึงค่อยลบภาษาไทยออกและให้น้องเดาว่าคำที่อยู่บนกระดาษนั้นอ่านว่าอะไร

ผลการปฏิบัติงาน
เป็นเรื่องที่น่าดีใจเช่นกัน เมื่อเราได้การต้อนรับที่ดีจากน้องๆ คือ ตอนอาทิตย์แรกกลุ่มของดิฉันได้สอนน้อง ป.3 ซึ่งจริงๆแล้วต้องสอนน้องๆ ป.2 เพราะเนื่องจากน้องๆ ป.2 มีเรียนตลอดเลยทำให้ได้เข้าไปสอนภาษาอังกฤษให้กับน้อง ป.3แทน ซึ่งเราได้สอนเรื่องตัวอักษร ABC และเดือนทั้ง 12 เดือนให้กับน้องๆ ซึ่งน้องๆทุกคนจดตามที่สอนได้เป็นอย่างดี และยังตั้งใจเรียนและให้ความร่วมมือกับพี่ๆเป็นอย่างมาก นอกจากนั้นน้องยังได้ถามว่า อาทิตย์หน้าจะมาสอนพวกเขาอีกไหม ซึ่งทำให้พวกเรานั้นประทับใจเช่นกัน ว่าน้องๆเขาอยากเรียนกับเราจริงๆ ส่วนน้องๆป.2 ถึงแม้ว่าจะซนอยู่บ้าง แต่โดยรวมนั้นถือว่าตั้งใจเรียนเช่นกัน และให้ความร่วมมือกับพี่ๆเป็นอย่างดี

ปัญหาที่เกิดขึ้นและการแก้ไข
ปัญหาหลักคือความไม่พร้อมของน้องๆ ซึ่งน้องๆอยู่ประถามศึกษาแล้ว น่าจะเขียน A-Z ได้แล้วในเกณฑ์ปกติ แต่การสอนภาษาอังกฤษให้น้องๆนั้น ทำได้ยากเพราะด้วยความที่น้องเรียนๆหยุดๆและไม่ค่อยมีพื้นฐานในด้านภาษาอังกฤษเท่าที่ควร ดังนั้นการแก้ปัญหาขั้นแรกคือการปูพื้นฐานให้น้อง เช่น ตัวเขียน ตัวพิมพ์ และฝึกให้น้องๆร้องเพลง ABC เพื่อการจำที่แม่นยำขึ้น
ปัญหาอื่นๆ เช่น น้องๆดื้อและซน ซึ่งเป็นธรรมดาของเด็กๆวัยนี้ พี่แต่ละคนมีทักษะในการสอนน้องที่บ้านมาบ้าง และได้นำทักษะเหล่านั้นมาใช้เพื่อดึงดูดความสนใจน้องๆ เช่น คราวหน้าพี่จะไม่มาแล้วถ้าน้องๆดื้อแบบนี้ น้องๆจึงค่อยเงียบและฟังพี่ๆมากขึ้น

ข้อเสนอแนะ
- น่าจะมีงบประมาณ สำหรับการเดินทางให้กับนักศึกษาเพราะบางคนบ้านอยู่ไกลมาก
- เวลากระชั้นชิดเกินไป นักศึกษาบางคนทานข้าวช้า จึงต้องรีบทานให้เสร็จเพื่อที่จะไปให้ทัน

วันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2553

การปฏิบัติงานโครงการจิตอาสา ณ สถานสงเคราะห์บ้านราชวิถี 2


รายชื่อกลุ่ม

1. นาย ปฐมพล พูลทรัพย์ 5104100095
2. น.ส. วิรดี ฉัตรรัตน์ศักดิ์ 5104100096
3. น.ส. นวพร พิเชฐจำรัสชีพ 5104100104
4. น.ส. สุมลทา ประสพสุวรรณ 5104100105
5. น.ส. ชุติมณฑน์ ลาภศิริพานิชกุล 5104100106
6. น.ส. ศศิวิมล พูลแก้ว 5104100112
7. น.ส. เพชรรัตน์ แก้ววิชิต 5104100118
8. น.ส. วันเพ็ญ หนูแดง 5104100122
9. น.ส. อภิญญา เป้าศิริ 5104100131
10. น.ส. ชุติสา เอกชนิตพงษ์ 5104100132
11. นาย กฤติน วงศ์ภูวรักษ์ 5104100134
12. นาย จีรายุส ชิวะละลิน 5104100136 หัวหน้ากลุ่ม
13. น.ส. ระพีพรรณ มะลิวัลย์ 5104100138

ลักษณะงานจิตอาสาที่ได้ปฏิบัติ
พวกเราได้เข้าไปช่วยสอนวิชาภาษาอังกฤษให้น้องๆบ้านราชวิถี โดยมีเนื้อหาในการสอนเกี่ยวกับ คำศัพท์และบทสนทนาง่ายๆ เพื่อให้น้องๆประถมศึกษาปีที่ 1 นำไปใช้ในการเรียนและอนาคตได้

ห้องเรียนที่พวกเราได้รับหน้าที่ไปทำการสอนมีนักเรียนประมาณ 26 คน ซึ่งพวกเราต้องดูแลประมาณ 1 ต่อ 2 หรือ 1 ต่อ 3 ทั้งนี้ พวกเราไม่ได้ไปเพียงแค่ให้ความรู้แต่เรายังไปกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็นของเด็ก ความอยากศึกษาเล่าเรียน ซึ่งเด็กๆเหล่านี้ยังขาดอยู่เพราะว่าพวกเค้าไม่รู้ว่าจะเรียนไปเพื่ออะไร อีกทั้งการดูแลเอาใจใส่ที่อบอุ่นที่พวกเราต้องช่วยให้น้องๆเค้ามีชีวิตที่ดีขึ้น

ผลการปฏิบัติงาน
ผลจากการที่ได้เข้าไปสอนน้องๆ แน่นอนว่าน้องๆที่บ้านราชวิถีได้รับความรู้ ความสนุกสนาน น้องๆมีชีวิตชีวามากขึ้น เกิดความอยากเรียน ความอยากรู้ขึ้นมากมาย อีกทั้งด้านจริยธรรมที่เราคอยส่งเสริมอย่างสม่ำเสมอ ทำให้น้องๆมีพัฒนาการที่ดีขึ้น น้องๆพูดได้ เขียนได้ ถึงแม้ว่าจะไม่ทุกคนก็ตาม แต่ทุกคนก็ได้รับอะไรกลับไปมากกว่าความรู้แน่นอน ซึ่งจะคอยส่งเสริมน้องๆในภายภาคหน้านั่นเอง

ปัญหาที่เกิดขึ้นและการแก้ไข
ปัญหาก็ต้องเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ตัวอย่างเช่น เด็กดื้อ เด็กซน ขี้งอน ขี้น้อยใจ มีปัญหาทางด้านอารมณ์ ซึ่งเป็นธรรมชาติของเด็กที่มีปัญหา เราต้องเข้าใจในจุดนี้ ซึ่งทางแก้ก็ไม่ง่ายและไม่ยาก นั่นก็คือเราต้องค่อยๆดีกับเค้าด้วยใจจริง ใช้ความใจเย็นแก้ปัญหา ค่อยเป็นค่อยไปเป็นการซื้อใจเด็กๆไปในตัวอีก อีกปัญหาก็คืออุปกรณ์การสอนยังขาดแคลนอยู่บ้างบางส่วน

ข้อเสนอแนะ
ก็อย่างที่รู้กันว่าปีนี้เป็นปีแรกของโครงการ Student Social Responsibility ของการทำงานจิตอาสากับเด็กๆบ้านราชวิถี ความลงตัวและอุปกรณ์ต่างๆในปีหน้า ควรจะชัดเจนและครบเครื่องมากกว่านี้ ในความคิดของพวกเรากิจกรรมนี้เป็นกิจกรรมที่ควรมีต่อไปอย่างมาก เพราะเราได้ลงมือทำและจิตอาสาอย่างแท้จริงที่เราได้ทำไปโดยไม่ได้ต้องการผลตอบแทน

การปฏิบัติงานโครงการจิตอาสา ณ สถานสงเคราะห์บ้านราชวิถี 1

รายชื่อกลุ่ม

1. นางสาวกมลวรรณ อุ่นเอม 5104100040
2. นางสาวเสาคนธ์ ธรรมจารีรักษ์ 5104100031
3. นางสาวพรพิมล สุขใหม่ 5104100042
4. นางสาวนันทพร ฤทธิ์อิ่ม 5104100045
5. นางสาวสโรชา แสงพัฒนาพร 5104100037
6. นางสาวทิษฏยา ณ บุญวงศ์ 5104100009 หัวหน้ากลุ่ม
7. นางสาวกรรณิการ์ วนิชชากร 5104100035
8. นางสาวลออลักษณ์ สุจริตชีววงศ์ 5104100030
9. นางสาวอภิญญา ใครัมย์ 5104100036
10. นางสาวนงลักษณ์ วัฒน์แก้ว 5104100033
11. นางสาวธัญพร รอดทิม 5104100007

ลักษณะการทำงาน
โครงการจิตอาสานั้นจัดขึ้นเพื่อให้เรามีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ เสมือนการนำความรู้ที่เราได้ศึกษามาแบ่งปันกับน้องๆที่ขาดความรู้ ความสามารถได้เข้าใจและได้รับความรู้ต่างๆมากมาย เพื่อให้มีประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน ลักษณะในการทำงานนั้น เราจะแบ่งเป็นหลายๆกลุ่ม อาทิเช่น กลุ่มสอนเด็กกศน. กลุ่มสอนเด็กชั้นประถมศึกษา แต่ละกลุ่มนั้นก็จะมีการสอนแตกต่างกันออกไป ความยากง่ายก็จะแตกต่างไปด้วยเช่นกัน ส่วนกลุ่มของพวกเราได้รับหน้าที่ให้สอนเด็กกศน. ซึ่งเป็นเด็กที่โตแล้วในระดับหนึ่ง

ปัญหาที่เกิดขึ้นและการแก้ไข
ไม่ว่าเราจะทำอะไรในครั้งแรกก็ย่อมเกิดปัญหาอย่างแน่นอน ปัญหาที่ว่านั้นคือ น้องๆบางคนไม่อยากเรียน จึงไม่ค่อยตั้งใจฟังสิ่งที่พวกเราได้ทำการสอนไป เด็กๆบางคนถึงกลับชักสีหน้าให้พวกเราเห็นว่าพวกเขาไม่อยากเรียนกันจริงๆ ครั้งแรกน้องๆอาจจะรู้สึกเบื่อกับบทเรียนที่ตนเองกำลังได้รับ แต่เมื่อเราเริ่มทำการสอนมาเป็นสัปดาห์ที่ 2-3 แล้ว เราก็รู้สึกได้ว่าความรู้สึกของน้องๆนั้นเปลี่ยนไปจากที่เคยพูดว่าไม่อยากเรียน แต่ตอนนี้เด็กๆกลับพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า “หนูอยากให้พวกพี่มาสอนทุกวันเลย” อาจจะเป็นเพราะว่าการแก้ปัญหาของพวกเรานั้น สามารถดึงเด็กๆเหล่านี้ให้มาสนใจบทเรียนได้ โดยวิธีการแก้ปัญหาคือ เปลี่ยนวิธีการสอนแต่ในตำราซึ่งจะทำให้เด็กเบื่อ มาสอนนอกตำราบ้าง แต่ไม่ถึงกลับน้องเรื่องไปเสียหมด อีกทั้งยังเพิ่มความสนุกสนานให้กับเนื้อหานั้นๆ ดังนั้นจึงทำให้เด็กๆอยากมีส่วนร่วมมากขึ้น และมีความรู้สึกที่อยากจะเรียนมากขึ้นอีกด้วย

ผลการปฏิบัติงาน
จากการที่พวกเราได้เข้าร่วมโครงการจิตอาสา สิ่งที่เราได้รับคือ ความสุข เสียงหัวเราะ รอยยิ้มจากเด็กๆ อีกทั้งยังได้พัฒนาเด็กๆเหล่านี้ให้มีความรู้ ความสามารถมากยิ่งขึ้น พวกเราหวังว่าการได้เข้าร่วมโครงการจิตอาสานี้จะทำให้เด็กๆได้รับประโยชน์จากพวกเราไม่มาก็น้อย และหากว่ามีโครงการอีกพวกเราก็ขอยืนยันว่าจะเข้าร่วมโครงการนี้อีกแน่นอน

ข้อเสนอแนะ
- การประสานงานกับทางภาคส่วนที่เราจะเข้าไปปฏิบัติงานยังไม่ชัดเจนเท่าที่ควร ดังนั้นควรปรับปรุงด้านการประสานงานให้มีความเรียบร้อยมากขึ้น
- สถานที่ในการสอนดูแออัดคับแคบเกินไปทำให้การเรียนการสอนเป็นอย่างลำบาก ดังนั้นควรให้สถานที่ให้เหมาะสมกว่านี้

การปฏิบัติงานจิตอาสาที่สถานสงเคราะห์เด็กหญิงบ้านราชวิถี 4


รายชื่อกลุ่ม
1. นางสาวอำพร บัวพวงชน 5004100185
2. นางสาวระพีพรรณ จิตต์ไพบูลย์ 5004100189
3. นางสาวสุนันทรา คูณสุข 5004100192
4. นางสาวภาพร ภู่เกษมสมบัติ 5004100200
5. นางสาวจุลลินภรณ์ วีระเกียรติ 5004100207
6. นางสาวมัดทิรา ชาวสวน 5004100217
7. นาวสาวธิดารัตน์ ตันเจริญ 5004100223
8. นางสาวสิริภัสสร หิรัญสุรรัฐโชติ 5004100228

ลักษณะงานจิตอาสาที่ทำ
-สอนภาษาอังกฤษให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยสอนตามหนังสือที่ทางโครงการจัดเตรียมไว้ให้ คือสอนคัดอังกฤษเป็นคำศัพท์ตามหมวดหมู่
ผลการปฏิบัติงาน
-น้องๆให้ความร่วมมือและตั้งใจเรียน จึงทำให้น้องได้รับความรู้จากที่พี่ๆสอน
ปัญหาที่เกิดขึ้นและการแก้ไข
-น้องๆส่วนใหญ่เขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษไม่ถูกและแยกไม่ออกระหว่างตัวอักษรพิมพ์เล็กและตัวอักษรพิมพ์ใหญ่
-จำนวนพี่น้อยกว่าน้อง จึงเกิดปัญหาสอนได้ไม่ทั่วถึง
ข้อเสนอแนะ
-การไปสอนน้องยังไม่ใช่การฝึกทักษะการสนทนาภาษาอังกฤษอย่างแท้จริง
-อยากได้ให้ไปช่วยเหลือชาวต่างชาติมากกว่าเพราะเป็นการได้เอาความรู้ทางภาษาอังกฤษที่มีอยู่มาใช้และยังเป็นการพัฒนาทักษะความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษด้วย

โครงการ Student Social Responsibility (SSR) ปีการศึกษา 2552

โดย อาจารย์สุชาดา เจริญนิตย์ ประธานโครงการ

หลักการและเหตุผล

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยมีหน้าที่ให้การบริการสังคม ดังนั้นสาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารธุรกิจจึงสนับสนุนให้นักศึกษาออกไปบริการสังคม โดยไปช่วยงานในสถานที่ต่างๆ เช่น ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสาร สำนักงานตรวจคนเข้าเมือง สำนักงานตำรวจท่องเที่ยว และ พิพิธภัณฑ์ เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพและฝึกการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

เป้าหมายของโครงการ
1. เพื่อบริการสังคม
2. เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร

วิธีการดำเนินการ
1. ติดต่อหน่วยงานที่มีความประสงค์เข้าร่วมโครงการ
2. ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัครนักศึกษา
3. ติดต่อวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ
4. จัดอบรมให้นักศีกษาก่อนส่งไปทำงานอาสาสมัครในหน่วยงานที่เข้าร่วมโครงการ
5. ติดตามผลการทำงานของนักศึกษาเป็นระยะๆ
6. ประเมินและสรุปผลการดำเนินงาน

ระยะเวลาในการทำกิจกรรม
ระหว่างเดือนกรกฎาคม 2552-เมษายน 2553

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. มหาวิทยาลัยได้ให้บริการสังคม และเผยแพร่ชื่อเสียงของคณะและมหาวิทยาลัย
2. นักศึกษามีโอกาสไปบริการสังคมและฝึกฝนการใช้ภาษาอังกฤษในการปฏิบัติงาน